วัสดุกราฟฟิก


1.ความหมายของวัสดุกราฟิก
             วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศน์วัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง

2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก
             วัสดุกราฟิกเป็นสื่อพื้นฐานที่นิยมใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือการเผยแพร่ความรู้ทั่วไป  ทั้งนี้เนื่องจากวัสดุกราฟิกมีคุณค่าหลายประการดังนี้
           1. ราคาถูก
           2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
           3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง
           4. เก็บรักษาง่าย  ใช้ได้สะดวก
           5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้


3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
               วัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
                1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
                2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว
                3. ประหยัดเวลา
                4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
                5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
                6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น


4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี
        สื่อวัสดุกราฟิกที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
        1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ
        2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน
        3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญ
ให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ
        4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ
        5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม

5. หลักการออกแบบวัสดุกราฟิก
การออกแบบวัสดุกราฟิกให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการสื่อความหมายควรยึดหลักการดังนี้
       1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
       2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ
       3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน
       4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ
       5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น
       6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง


6. ประเภทของวัสดุกราฟิค
             
     -แผนสถิติ (Graphs) ใช้นำข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ และเวลา หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ชนิด แบ่งเป็น
               1) แผนสถิติแบบเส้น ใช้เส้นแสดงข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ
              2) แบบสถิติแบบแท่ง ใช้แท่งแทนข้อมูลแต่ละชนิด ซึ่งขนาดของแท่งจะต้อง เท่ากัน ใช้ได้ดีในกรณีที่มีข้อมูลไม่มาก เป็นแบบที่ทำง่ายและอ่านง่าย
        3) แผนสถิติแบบวงกลม แสดงข้อมูลทั้งหมดภายในวงกลม และแบ่งส่วนด้วยเส้นรัศมีตามปริมาณของข้อมูล ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล ทั้งหมดในเวลาเดียวกันแต่ไม่ละเอียด
             4) แผนสถิติแบบรูปภาพ ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แบบข้อมูล เร้าความสนใจดี แต่ไม่ละเอียด เพราะจะบอกข้อมูลโดยประมาณ
             5) แผนสถิติแบบพื้นที่ ใช้พื้นที่ของรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม เพื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูล 2-3 อย่าง ซึ่งผู้ดูจะเข้าใจได้เร็ว แต่มีรายละเอียดน้อยมาก

       - แผนภาพ (Diagram) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ หรือกระบวนการทำงานมีลักษณะเป็นนามธรรม เพราะมีรายละเอียดที่สำคัญ เหมาะใช้กับผู้เรียนที่เรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) แผนภาพแบบลายเส้น
2) แผนภาพแบบรูปภาพ
3) แผนภาพแบบผสม

      -แผนภูมิ (Chart) เป็นวัสดุที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริง ข้อมูลความรู้ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ พัฒนาการ กระบวนการ การจำแนก การวิเคราะห์ โดยมีรูปภาพ สัญลักษณ์ คำ หรือ ข้อความ ประกอบ แบ่งออกเป็น 8 ชนิดด้วยกันคือ
1) แผนภูมิแบบต้นไม้ : แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งแยกออกได้เป็นหลายสิ่ง
2) แผนภูมิแบบสายธาร : กลับกับแบบต้นไม้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจาก หลายสิ่งมารวมกัน
3) แผนภูมิแบบต่อเนื่อง : แสดงลำดับขั้นการทำงาน การทำกิจกรรมตามลำดับ
4) แผนภูมิแบบองค์การ : แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในองค์การ หรือ ระหว่างองค์กร มักนิยมใช้เส้นโยงระหว่าง กรอบสี่เหลี่ยม
5) แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ: เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างแนวคิด รูปร่างลักษณะ ขนาดของสิ่งต่าง ๆ
6) แผนภูมิแบบตาราง : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์
7) แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ : แสดงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นไป ตามเวลา
8) แผนภูมิแบบอธิบายภาพ : มีลักษณะเป็นรูปภาพ และมีลูกศรชี้ส่วนต่าง ๆ ที่มี ตัวอักษรกำกับเพื่อให้ทราบว่าเป็นอะไร

       -ภาพโฆษณา (Poster) ใช้เพื่อประกาศ หรือจูงใจให้ผู้ดูกระทำตามหรือไม่ให้ กระทำตาม ภาพโฆษณาที่ดี จะต้องทำให้ผู้ดูจำง่ายและประทับใจอย่างรวดเร็ว การผลิตภาพโฆษณาจึงควรคำนึงถึง
- การออกแบบให้มีลักษณะเด่น เร้าความสนใจ
- ใช้ข้อความสั้น ๆ และภาพประกอบเป็นแบบง่าย ๆ
- สีสะดุดตา ใช้สีตัดกัน แต่ไม่ควรเกิน 3 สี
- ควรมีขนาดใหญ่
- แสดงจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพโฆษณา (Poster)

      - การ์ตูน (Cartoon) เป็นทัศนวัสดุ ที่มีลักษณะเป็นภาพเขียนด้วยลายเส้น แสดง เฉพาะลักษณะเด่น ๆ เพื่อเลียนแบบกริยาท่าทางของมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ความคิดเห็น อารมณ์ หรือ ทัศนะของผู้เรียนไปยังตัวผู้ดูสามารถนำมาใช้ในการศึกษา การโฆษณา และความบันเทิงได้


       -ภาพวาด (Drawing) เป็นการวาด หรือเขียน อาจเป็นภาพสี หรือภาพขาว-ดำ

       


        -ภาพถ่าย (Photograph) เป็นภาพที่ถ่ายจากของจริง สถานที่จริง โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์ม และผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์ภาพ ที่ได้มาจากการถ่ายภาพจากล้องระบบดิจิตอล


      - ภาพพิมพ์ (Printing) เป็นภาพที่ผ่านกระบวนการพิมพ์ เช่นภาพโปสเตอร์ หนังสือ เอกสาร ปฏิทิน หรือนิตยสารต่าง ๆ


    
       -สัญลักษณ์ (Logo) เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แสดงหรือแทนตาม ความหมายของหน่วยงาน มีทั้งที่เป็นเครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร หรือการผสมผสานกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น